ข้อมูลทั่วไป

การวินิจฉัยโรคหัวใจ
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน
( EXERCISE STRESS TEST ; EST )
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน
เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินสายพาน

ทำไมจึงต้องตรวจ
ในภาวะปกติหรือขณะพักของผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มักจะแสดงอาการผิดปกติใดๆ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลการตรวจก็มักจะปกติด้วย เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
แต่เมื่อมีการออกกำลังกายหรือออกแรงมากกว่าภาวะปกติ กล้ามเนื้อหัวใจจะมีความต้องการเลือด
ไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้นด้วยบริเวณที่เส้นเลือดตีบจะไม่สามารถขยายตัวส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ได้เพียงพอจึงทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้น ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติให้เห็นได้
เมื่อใดที่ควรตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วย
การเดินสายพาน

  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ต้องดูการตอบสนองของความดันโลหิตต่อการออกกำลังกาย
  • ดูว่ามีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในขณะออกกำลังกายหรือไม่
  • เพื่อบอกความรุนแรงของโรคในรายที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว
  • เพื่อตรวจภายหลังการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  1. งดน้ำและอาหาร ชา กาแฟ อย่างน้อย 2-3 ชม.ก่อนทำการตรวจ เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด
    หรือคลื่นไส้อาเจียนจากการรับประทานอาหารอิ่ม
  2. สวมเสื้อสบายๆ ควรเป็นเสื้อกระดุมผ่าหน้า หรืออาจเป็นเสื้อที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ให้และ
    ใส่รองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย
  3. อาจต้องหยุดยาบางชนิดก่อนมาทำการทดสอบ (กรุณาปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน)
  4. การตรวจมักใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่ควรเผื่อเวลาไว้บ้างสำหรับการเตรียมตัวและเรื่องอื่นๆ
  5. งดการออกกำลังกายอื่นๆก่อนมาตรวจ

สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีทางการแพทย์ของเรา

การตรวจสุขภาพโรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย (EST)
  • การตรวจคลื่นหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter)
  • การตรวจสวนหัวใจเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ (Coronary Angiogram)

การรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ตลอด 24 ชั่วโมง (PCI)
  • การขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร
  • การปิดผนังหัวใจหรือหลอดเลือดรั่ว

การผ่าตัดหัวใจ

  • การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • การผ่าตัดหลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือปริแตก

แพทย์โรคหัวใจ

  • อายุรแพทย์หัวใจ
  • กุมารแพทย์หัวใจ
  • ศัลยแพทย์หัวใจ

สถานที่ & ติดต่อ

แผนกศูนย์หัวใจ โทร : 02-529-4533 ต่อ